ประสบการณ์ครั้งแรกในการเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาข้อเข่าข้อสะโพกโรงพยาบาลตำรวจ
 

นพ.ปวริศ  สังขันธ์

งานออร์โธปิดิกส์   โรงพยาบาลบ่อพลอย   กาญจนบุรี

 

 

 

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  ปลายเดือนพฤษภาคม  ปี 2554  ผมได้รับโอกาสจากอาจารย์   ธนา  (พ.ต.อ.ธนา  ธุระเจน)  และอาจารย์วิโรจน์(พ.ต.อ.วิโรจน์   ลาภไพบูลพงษ์)  รับผมเข้ามาเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอดในสาขาข้อเข่าสะโพก  หลังจากผมได้ใช้ชีวิตเป็นแพทย์ศัลยกรรมกระดูกประจำโรงพยาบาลบ่อพลอย   จ.กาญจนบุรี  ได้หนึ่งปีเต็ม  โดยผมต้องเป็นแพทย์  fellow  ติดตามอาจารย์วิโรจน์ไปตลอดหนึ่งปีจนครบหลักสูตร

        ในช่วงเวลาหนึ่งปีที่เป็นแพทย์ศัลยกรรมกระดูกที่โรงพยาบาลบ่อพลอย  ได้เริ่มทำ  TKA THR  โดยมีรุ่นพี่จากโรงพยาบาลใกล้เคียงมาเป็นผู้ช่วยและได้ประสบปัญหามากบางอย่างก็ไม่เข้าใจ  ที่สำคัญที่สุดในขณะทำผ่าตัดเนื่องจากความเข้าใจเรื่อง  surgical  technique  และ instrument  ยังน้อยเลยต้องคล้อยตามเจ้าหน้าที่จากบริษัทเครื่องมือ  ทำให้รู้สึกอึดอัดในบางครั้งโดยเฉพาะการทำ  THR วิธีการ ream acetabulum   ให้ได้  press fit  พอดีต้อง ream  แค่ไหนถึงจะพอแล้วถ้าตอกไม่ได้  press  fit  จะทำอย่างไรดี   ถ้า ream   แล้ว posterior  wall  หายจะแก้อย่างไร  กรณี  bone  นุ่มมาก  ream  แล้วเกิด protrusion  เท่าไหร่จึงยอมรับได้  มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดได้อย่างไร  ในการทำTKA วิธีการ exposure ที่จะทำให้แผลเล็กและทำได้ง่ายทำอย่างไร  วิธี release ligament  ในการทำ TKA ในคนไข้ที่  deformity มากๆ วิธีการตัด proximaltibia  ให้ perpendicular กับ axis ต้องเล็งอย่างไร  และถ้า balance ligament  แล้ว flexion gap ต่างจาก extention gap  มากจะแก้อย่างไร  เย็บแผลแบบไหนไม่ให้แผลซึม  ถ้าแผลซึม 7 วันจะแก้อย่างไร  สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เหงื่อโง่ของผมหลั่งไหลเหมือนกับมวลน้ำที่ถาโถมกรุงเทพฯ  ตอนต้นปีกันเลยทีเดียว  บางครั้งผ่าตัดเสร็จก็นอนไม่หลับอยู่หลายวัน  แต่ยังโชคดีที่คนไข้ทุกคนไม่มีปัญหาใดๆ หลังผ่าตัดและสามารถใช้ข้อเข่า  ข้อสะโพกเทียมได้ดี  แต่ถึงอย่างไรก็ตาม  ผมได้ตระหนักว่า  ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ ของผมคงไม่พอที่จะทำเคสที่ยากและซับซ้อนได้ดี  การมาเรียนรู้กับอาจารย์  มารับประสบการณ์ มาดูเคสที่ยากๆ ซับซ้อนและเทคนิคที่ทันสมัยคงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผม  ตลอดจนถึงโปรแกรมในการดูแลหลังการผ่าตัด  ผมจึงคิดว่าการไปเรียนเพิ่มในอนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพกคงเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผมเป็นแพทย์ที่มีความสามารถมากขึ้นในการผ่าข้อเข่าข้อสะโพกเทียมได้

      การเป็น fellow  เปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33  ของอาจารย์  ไม่ว่าอาจารย์จะผ่าอะไรที่ไหน  โรงพยาบาลใด  เราต้องไปทุกๆที่  แรกๆรู้สึกตัวว่าค่อนข้างเป็น                     ภาระอาจารย์ซะมากกว่า  เนื่องจากยังช่วยไม่ถูก เช่นการปูผ้าให้ sterile ก็ต้องมีขั้นตอนที่พลาดไม่ได้   การจัดท่าคนไข้  การลงมีดผ่ารายละเอียดการผ่าตัดของอาจารย์เพิ่มมากขึ้น  ทำให้เข้าใจและสามารถช่วยได้อย่างดีมากขึ้น  นอกจากนี้ การมา  femoral  stem BMHR  BHR  PSI  Computer assist navigator แต่ที่ผมชอบและสนุกมากที่สุดคือการใช้ navigator ในการทำ TKA ใครที่ยังไม่เคยลองให้แนะนำให้ใช้ครับเพราะท่านสามารถวางแผนและแก้ปัญหาได้ทันทีโดยที่ยังไม่ต้อง finist  cut  bone  ท่านจะสนุกในการ balance ligament  ดูความแตกต่างทางด้าน medial และ lateral ความแตกต่างใน flexion และ extion gap พอดี

ที่สำคัญที่สุดคือ  การได้เรียนรู้วิธีดูแลคนไข้ของอาจารย์  อาจารย์ round คนไข้ทุกวันผมจึงจำเป็นต้องมาด้วยทุกวันเหมือนกัน แรกๆรู้สึกเหนื่อยมากที่ต้องตื่นแต่เช้าและต้อง round ในวันเสาร์  อาทิตย์  แต่สักพักก็เริ่มอยู่ตัวกับสิ่งเหล่านี้  ทำให้ผมรู้ว่าการเป็นหมอนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  doctor patien relationship ถ้าคนไข้เข้าใจและศรัทธาในตัวแพทย์  การรักษาวิธีใดๆกับคนไข้จะง่ายขึ้นและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเนื่องจากได้รับการร่วมมืออย่างดีจากคนไข้และญาติ ปัญหาต่างๆก็จะน้อยลง

    สำหรับน้องๆ ออร์ปิดิกส์ที่จบใหม่ที่ยังลังเลว่าจะเรียนต่อเลยหรือไม่เรียนผมแนะนำว่าสิ่งสำคัญที่สุดคงเป็นความตั้งใจที่ดีที่จะให้คนไข้หายป่วย  ความตั้งใจที่ดีนำมาซึ่งความอยากรู้  อยากเรียน  อยากพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าสาขาวิชาอะไรขอให้น้องๆทุกคนตั้งใจ หากไม่มีโอกาสได้มาเรียน  fellow ก็หมั่นดูงานและมาเข้าเคสอาจารย์อยู่เสมอการมาเรียนต่ออาจไม่จำเป็นแต่ถ้าน้องๆ  ที่รู้สึกว่าการดูงานหรือการเข้ามาเรียนรู้เคสกับอาจารย์ยังไม่พอ  ผมแนะนำให้เรียนเลยครับ  เพราะจะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้เร็วมากๆ

 

สุดท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ธนา  ธุระเจน  ที่ให้โอกาสรับผมเข้าเรียน

อาจารย์สุรวิทย์  ศักดานุภาพ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ่อพลอยที่ให้ผมมาเรียนได้

ที่สำคัญที่สุดที่ผมติดตามท่านตลอด 1 ปีเต็ม  อาจารย์วิโรจน์  ลาภไพบูลย์พงศ์และอาจารย์ในโรงพยาบาลตำรวจทุกท่านด้วยครับ

ย้อนกลับ


 
Visitor  : วันนี้ 424 | เดือนนี้ : 32383 | ปีนี้ : 83661 | รวม : 416897 โรงพยาบาลบ่อพลอย 211 ม. 1 ต. บ่อพลอย อ. บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 – 581139 โทรสาร 034 – 581160 E-mail : bophloi_hospital@hotmail.com