ระบบบริการสุขภาพดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
 

smileyโรงพยาบาลบ่อพลอยได้วางระบบบริการสุขภาพของผู้ป่วย COPD การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิต

 

     โดยนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาระบบบริการสุขภาพ ในการดูแลผู้ป่วย COPD และการวิจัยกึ่งทดลองผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยการจัดตั้งคลินิก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นระบบ Semi- one stop service, ทบทวน CPG,CNPG โดยผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความรุนแรงและค้นหา ปัจจัยกระตุ้น ตั้งแต่ OPD/ER จัดทำเกณฑ์ข้อบ่งชี้ในการ Admit COPD c AE, เกณฑ์การใส่ ET tube เกณฑ์การ Refer ,พัฒนาบุคลาการการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิก, ระบบการวางแผนจำหน่าย, ระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ระบบการให้ยืม Home O2 Therapy นำโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มาใช้ในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการป่วยในชุมชนลดลง และอัตราการกลับมารักษาซ้ำลดลง

ชื่อผลงาน : ระบบบริการสุขภาพดูแลผู้ป่วยโรค COPD
                   แผนกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลบ่อพลอย


คำสำคัญ ระบบบริการสุขภาพ, การดูแล


ปัญหาและสาเหตุ


     จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2552 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อยและมีความเสี่ยงสูง โดยพบอัตราการเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในอันดับที่ 5 จำนวน 69 ราย/ 124 ครั้ง อัตราการ Admit 10.49%, มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว 3.73%, เสียชีวิตหลังส่งต่อ 1 ราย และพบอัตราการกลับเข้ามารักษาซ้ำภายใน 28 วันสูงเป็นอันดับ 1 อัตรา 16.05% พบอุบัติการณ์การประเมินผู้ป่วยไม่เหมาะสม การเฝ้าระวัง และประเมินซ้ำในระยะวิกฤตไม่เหมาะสม การวางแผนการดูแลรักษาและการวางแผนจำหน่ายทำได้ไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ


เป้าหมาย

1. ลดอัตราการเกิด Respiratory Failure
2.
ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรค COPD
3.
ลดอัตราการป่วยด้วยโรค COPD ในชุมชน


แนวทางการพัฒนา


1. ทบทวน CPG นำมาปฏิบัติ
- COPD c AE ข้อบ่งชี้ในการนอนโรงพยาบาล
- Cardinal Symtom
-
การให้ Antibiotic เมื่อมีอาการ 2 Cardinal Symtom ขึ้นไป
2. จัดทำแบบฟอร์มเฝ้าระวังค้นหา Precipitating Factor กรณี COPD c AE Admit
3.
ทบทวนเกณฑ์การ Admit, Refer, ใส่ ET tube
4.
มีระบบเฝ้าระวังและประเมินซ้ำอย่างเหมาะสมใน Pt.วิกฤตภาวะ Dyspnea, Hypoxia,Nacrosis และ Respiratory failure
5.
กำหนด Criteria การรายงานแพทย์
6. วางแผนจำหน่าย เน้นการประเมินความรู้ความสามารถในการดูแลต้นเองเบื้องต้น
- สอนญาติการสังเกตอาการเหนื่อยหอบ/ การหายใจ/ การดูแลเบื้องต้น
- สอน/ สาธิต/ ทดลองทำการพ่นยา
7. จัดระบบให้ยืม Home O2 Therapy พร้อมแนะนำ ติดตามเยี่ยมบ้าน
8. มีระบบการทบทวนกลุ่มผู้ป่วย COPD มีอุบัติการณ์ความเสี่ยง G-H-I, และ Re-admit
9.
คลินิก COPD
-
จัดระบบการนัดศุกร์ที่ 2 และ 4 ของเดือนผู้ป่วยเข้าคลินิก COPD
-
จัดโปรแกรมให้สุขศึกษารายบุคคล/ รายกลุ่ม
- ปรับปรุงแบบฟอร์มโดยราย Visit ระบุ Severity
- Review
ผู้ป่วย COPD ทุกรายโดยอายุรแพทย์
- กรณีมาด้วย COPD c AE ทำสัญลักษณ์ติด OPD Card การมา Re-admit
-
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
- จัดโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและ
ค่า Peak flow สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
10. เภสัชกรให้ความรู้และสอนการพ่นยาใน Case ที่เริ่มพ่นครั้งแรกและใน Case ที่มีปัญหาในการพ่นยาในคลินิก COPD และประเมินประสิทธิภาพการพ่นยาทุกราย
11. นำยาตัวใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพและใช้ง่ายมาใช้ในโรงพยาบาล ได้แก่ Symbicot® (Budesonide + Formoterol) Seretide (Salmeterol) + Fluticasone

12. งานเวชกรรมฟื้นฟูให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดการบริหารการหายใจ, หายใจอย่างมีประสิทธิภาพในคลินิก COPD และผู้ป่วยในรายกลุ่ม
13. การติดตามเยี่ยมบ้านให้การดูแลต่อเนื่องเกี่ยวกับ
- พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
- สิ่งแวดล้อมและ Precipitating Factor
-
การดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง เมื่อเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน

14. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

 

 

นวัตกรรมที่เกิดขึ้น


Ÿ โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย COPD
· CPG COPD
ของแพทย์และ CNPG ของพยาบาลที่สอดคล้องกัน
· เกณฑ์การ Admit, Refer, ใส่ ET tube
·
ระบบการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับ โดยค้นหาปัจจัยกระตุ้นการกำเริบของโรค

15. บทเรียนที่ได้รับ


1. บุคลากรมีศักยภาพสูงขึ้นในการประเมิน เฝ้าระวังภาวะวิกฤตอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะการหายใจล้มเหลว
2. แผนการดูแลเฉพาะโรค CPG COPD มีการทบทวนนำมาปฏิบัติติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยทีมดูแลผู้ป่วย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโดยการค้นหา Role Model ทำให้มีการปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง
4. แผนพัฒนาต่อเนื่องจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผู้ป่วย COPD (COPD Camp) 3 รุ่น รุ่นละ 30 คน ในปี 2554

 

                                                                 ติดต่อทีมงาน


                                     นางนงลักษณ์ นะวาระ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                     โรงพยาบาลบ่อพลอย 211 . 1 .บ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี 71160
                                                 โทรศัพท์ 034 - 581139 ต่อ 208

หรือ คลิ๊ก    http://www.bophloihospital.com/appointment_index.php

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ย้อนกลับ


 
Visitor  : วันนี้ 223 | เดือนนี้ : 34771 | ปีนี้ : 86049 | รวม : 419285 โรงพยาบาลบ่อพลอย 211 ม. 1 ต. บ่อพลอย อ. บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 – 581139 โทรสาร 034 – 581160 E-mail : bophloi_hospital@hotmail.com