Lean คือ ???
 
 
Lean  = การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน , การปรับปรุงการทำงาน และ การลดความศูนย์เสีย
 
Lean ในบริการสุขภาพ

 

      คำว่า Lean เกิดขึ้นยุค ค.ศ.1980เพื่อใช้อธิบายระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) ในขณะที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบการผลิตรถยนต์ในประเทศต่างๆ ของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาในครั้งนั้น พบว่า บริษัทโตโยต้า สามารถผลิตรถยนต์แข่งขันได้ทั่วโลก เนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิภาพของการออกแบบ การผลิต การตลาดและการบริการ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวมีปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การกำจัดความสูญเสียในกระบวนการ และการใช้ประโยชน์จากบริษัทที่จัดส่งชิ้นส่วนให้โตโยต้า เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าที่ใช้รถยนต์ Moden (1993), Ohno (1990) และ Shingo (1989) ได้อธิบายลักษณะของการผลิตแบบ Lean ไว้ในเชิงเปรียบเทียบกับการผลิตคราวละมากๆ ว่า

1.            ต้องใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

2.            ต้องใช้ชั่วโมงการทำงานของวิศวกรเพียงครึ่งเดียวในการออกแบบ

3.            ต้องใช้แรงงานเพียงครึ่งเดียวในการผลิต

4.            ต้องลงทุนเพียงครึ่งเดียวในเรื่อง เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่โรงงาน

       สังเกตว่าทั้งระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี และระบบการผลิตแบบ Lean ต่างก็มีปรัชญาในการผลิตที่เหมือนกัน คือ มุ่งกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหากทำการผลิตคราวละมากๆ แต่การผลิตแบบทันเวลาพอดี และแบบ Lean ก็มีความสูญเสียในเรื่องเวลาการปรับตั้งกระบวนการ เนื่องจากเปลี่ยนรุ่นการผลิต นอกจากนั้น ยังมีความยุ่งยากในการวางแผนและควบคุมการผลิต รวมถึงความยุ่งยากในการควบคุมผู้ผลิตชิ้นส่วนจากภายนอก ซึ่งสามารถสรุปข้อดี ข้อเสีย และความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปรัชญาและระบบการผลิต

 

Lean คืออะไร

 

Lean แปลว่า ผอม เพรียว บาง

 

 

ถ้าเปรียบเทียบกับคนในความหมายเชิงบวก ก็หมายถึงคนที่มีร่างกายสมส่วน ปราศจากชั้นไขมัน แข็งแรง ว่องไว กระฉับกระเฉง

ถ้าเปรียบเทียบกับองค์กรก็หมายถึงองค์กรที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเปล่าในทุกๆกระบวนการ มีความสามารถในการปรับตัวตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้รับผลงานได้ทันท่วงที มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง

Lean เป็น holistic & sustainable approach ที่ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างน้อยลง แต่ให้ได้ผลงานมากกว่า ผลงานที่ใกล้เคียงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

สิ่งที่ลดน้อยลง คือ ความสูญเปล่า, วงรอบเวลา, ผู้ส่งมอบ, ความคร่ำครึ, การใช้แรงคน เครื่องมือ เวลา และพื้นที่ปฏิบัติงาน

สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ ความรู้และพลังอำนาจของผู้ปฏิบัติงาน, ความยืดหยุ่นและขีดความสามารถขององค์กร, ผลิตภาพ, ความพึงพอใจของลูกค้า, ความสำเร็จในระยะยาว

แนวคิด Lean คือการเปลี่ยนจาก ความสูญเปล่า (waste) ไปสู่ คุณค่า (value)

ในมุมมองของผู้รับผลงาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จบ

Lean ไม่ใช่เรื่องของการทำงานให้หนักขึ้นหรือเร็วขึ้น แต่เป็นการค้นหาความสูญเปล่า และเปลี่ยนให้เป็นคุณค่าที่ผู้รับผลงานของเราต้องการ

Lean ไม่ใช่ชุดเครื่องมือสำเร็จรูป แต่เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างแนวคิด กิจกรรม และวิธีการที่จะช่วยผลักดันให้วัฒนธรรมขององค์กรเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ผ่านการพัฒนาจิตสำนึกที่ดีและแนวคิดที่ถูกต้องในการทำงานแก่พนักงานทุกระดับ

 

ความพิเศษของ Lean

 

                ทำไม Lean จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในองค์กรต่างๆ

 

Lean is proven หลักการและเทคนิคของ Lean ได้รับการนำไปใช้และประสบความสำเร็จในองค์กรทุกภาคส่วน ทุกประเภท ทุกขนาด นับเป็นพันๆแห่ง

1.  Lean makes sense ในยุคสมัยแห่งความซับซ้อน Lean ใช้ความเรียบง่ายในการตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆทุกประเภท ทุกสถานการณ์

2.  Lean is accessible ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หากมีความมุ่งมั่น ไม่ยาก ไม่แยกส่วน ไม่แพง

3.  Lean is inclusive แนวคิด Lean เปิดรับการใช้เครื่องมือและเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่จำกัด เป็นสิ่งที่เสริมกันกับ TQM, Six Sigma, BPM ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

4.  Lean is for everyone ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ไม่ยาก

 

ทำไมต้องนำ Lean มาใช้ในบริการสุขภาพ

 

                การดูแลสุขภาพที่เป็นอยู่ หรือวิธีการที่เราได้รับการฝึกอบรมมาในการให้บริการสุขภาพ มีลักษณะที่เป็นข้อด้อยสำคัญบางประการ ได้แก่ เป็นการจัดบริการเพื่อตอบสนองต่อแต่ละครั้ง (episode) ของการเจ็บป่วย, เป็นบริการแบบตั้งรับที่ผู้ป่วยต้องช่วยตนเองในการเข้าหาบริการ, ผู้ป่วยต้องรอคอยเป็นเวลานาน, มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยละผู้ให้บริการ, การสื่อสารระหว่างทีมผู้ให้บริการเป็นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ, กระบวนการดูแลมีความไม่แน่นอน, มีการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจำนวนมากและแตกต่างหลากหลาย, มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในกระบวนการดูแลจำนวนมากโดยที่ระบบไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกัน, ไม่มีการวัดผลลัพธ์ของการทำงานที่สอดคล้องกับคุณค่าที่ผู้ป่วยต้องการ, มีราคาแพง เราจำเป็นต้องใช้แนวคิดแบบใหม่ เพื่อผู้ป่วยของเรา และบุคลากรของเรา ร้อยละ 80 ของความบกพร่องทางการแพทย์มาจากระบบ วิธีการที่ได้ผลที่สุดในการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวคือ การแก้ไขที่ระบบและระเบียบปฏิบัติ

 

Seamless Healthcare

 

                seamless healthcare หมายถึงระบบบริการสุขภาพที่บูรณาการหรือเชื่อมต่อกันแนบสนิท เป็นระบบบริการที่เสมือนเป็นหนึ่งเดียวแม้ว่าจะมีหน่วยบริการหลายระดับ หลายภาคส่วน กระจายตามพื้นที่ต่างๆ

                การจะเกิด seamless healthcareขึ้นได้ ระบบจะต้องทำงานเหมือนร่างกายของมนุษย์ ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันในทุกอิริยาบถ มีระบบการรับรู้ ประมวลผล และตอบสนองอย่างเหมาะสมตามสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบ มีการสื่อสารข้อมูลอย่างทั่วถึง ทันกาล และแปลความหมายอย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน มีพลังงานที่หล่อเลี้ยงระบบอย่างทั่วถึง สามารถปรับเปลี่ยนระดับการใช้พลังงานหรือดึงแหล่งพลังงานสำรองมาใช้ในจุดที่มีความจำเป็นได้โดยไม่เสียสมดุลของร่างกาย

 

ความสูญเปล่า (Waste)

 

                ความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบไว้ในระบบโดยผู้ปฏิบัติงานไม่รู้ตัวว่าเป็นความสูญเปล่า หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำเพื่อแก้ไขความผิดพลาด ซึ่งบางครั้งทำเป็นประจำจนเกิดความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ปกติ

                ความสูญเปล่าเป็นสิ่งที่เมื่อขจัดออกไปแล้ว จะไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าที่ผู้รับผลงานได้รับ ดังนั้นจึงเป็นเป้าหมายของ Lean ที่จะต้องมองหาความสูญเปล่าและพยายามขจัดออกไป เพื่อที่จะได้มีเวลางานที่มีคุณค่าได้มากขึ้น

                แนวคิด Lean ช่วยให้เราพิจารณาว่า “งานคือสิ่งที่เราควรทำ”มิใช่ “งานคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่”

                เราอาจใช้แนวทางต่อไปนี้ ในการวิเคราะห์ความสูญเปล่าในชีวิตประจำวันของเรา เรียกย่อว่า DOWNTIME เพื่อง่ายในการจดจำ

 

 

D

Defect

ข้อบกพร่องที่ต้องทำงานซ้ำเพื่อแก้ไข

O

Overproduction

การผลิตหรือให้บริการมากเกินจำเป็น

W

Waiting

การรอคอย

N

Not Using Staff Talent

ความรู้ความสามารถไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่

T

Transportation

การเดินทางและการเคลื่อนย้าย

I

Inventory

วัสดุคงคลัง

M

Motion

การเคลื่อนที่หรือการเดินของเจ้าหน้าที่

E

Excessive Processing

ขั้นตอนที่มากเกินจำเป็น

 

 

หัวหน้าพาทำ Lean

 

                แนวทางการเรียนรู้คุณค่าของ Lean ทีเป็นไปได้อีกวิธีหนึ่ง คือการเรียนลัด นำแนวคิดหรือบทเรียนที่ประสบความสำเร็จมาสู่การปฏิบัติโดยการนำของผู้นำ ซึ่งอาจจะเป็นผู้นำในระดับองค์กรหรือในระดับหน่วยงานก็ได้ ส่งเสริมให้เกิดการทดลองขนาดเล็กๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อพิสูจน์ความคิดและขยายผลสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ต่อไป

ย้อนกลับ


 
Visitor  : วันนี้ 179 | เดือนนี้ : 34727 | ปีนี้ : 86005 | รวม : 419241 โรงพยาบาลบ่อพลอย 211 ม. 1 ต. บ่อพลอย อ. บ่อพลอย จ. กาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 – 581139 โทรสาร 034 – 581160 E-mail : bophloi_hospital@hotmail.com